สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ จัดเป็นสาขาที่สำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หลักสูตรนี้แบ่งได้เป็น 2 แขนงที่มีความต่อเนื่องกัน เป็นศาสตร์ที่เชื่อมโยงกันโดยตรง โดยมีแขนงวิศวกรรมเหมืองแร่เป็นผู้นำทรัพยากรแร่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในทุกๆ การผลิตมาเชื่อมโยงกับแขนงวิศวกรรมวัสดุซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์วัสดุต่างๆ ให้มีสมบัติที่เหมาะสมกับงานจากการใช้วัตถุดิบที่มีในประเทศ 

         แขนงวิศวกรรมเหมืองแร่

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีจิตสาธารณะ ถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง และปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยหลักสูตรจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย ในการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) และการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project -based Learning) ซึ่งมุ่งเน้นผลลัพธ์บัณฑิตแขนงวิศวกรรมเหมืองแร่ที่มีความรู้ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานระเบิดทางวิศวกรรม งานระเบิดอุโมงค์ งานเหมืองหินก่อสร้าง งานวางแผน ประเมินโครงการ และการออกแบบเหมือง โดยบัณฑิตมีความขยัน อดทน เรียนรู้ได้ มีทักษะในการแก้ปัญหา มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ รู้และเข้าใจกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. แร่ 2560 เป็นอย่างดี จะมีความพร้อมในการทำงาน การแก้ปัญหา ประยุกต์ความรู้และความสามารถทางด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ มาบูรณาการวิทยาการสมัยใหม่ สำหรับการพัฒนาภาคใต้และประเทศไทย รวมไปถึงภูมิภาคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เป็นอย่างดี

          แขนงวิศวกรรมวัสดุ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ สามารถเชื่อมต่องานทางด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ในการนำวัตถุดิบจากการทำเหมืองมาผลิตเป็นวัสดุ โดยหลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน เพื่อให้พร้อมที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีจิตสาธารณะ ถือประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง และปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยหลักสูตรจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมหรือการปฏิบัติ (Active Learning) ที่หลากหลาย ในการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem-based Learning) และการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project- based Learning) ซึ่งมุ่งเน้นผลลัพธ์บัณฑิตแขนงวิศวกรรมวัสดุที่มีมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีใหม่ทางด้านวิศวกรรมวัสดุ ทั้งในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ การใช้งานวัสดุเชิงวิศวกรรม รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรม ได้รับการพัฒนาตน เพิ่มพูนความรู้จากการวิจัย และจากอุตสาหกรรม มีความพร้อมในการทำงาน แก้ปัญหาได้ง่าย ตรงจุด สามารถนำความรู้และความสามารถมาใช้ในการพัฒนาองค์กร และประเทศ รวมทั้งภูมิภาค ASEAN ในรูปแบบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

ข้อมูลหลักสูตร ปรับปรุง 2559

ข้อมูลหลักสูตร ปรับปรุง 2564